การติดตั้ง SUT-MOTS-TBMS

เริ่มต้น
ข้อควรทราบก่อนการติดตั้ง

1. เครื่องที่จะติดตั้งต้องมี RAM ไม่น้อยกว่า 512 MB.
2. ตั้งแต่ SUT-MOTS 5502 เป็นต้นไป จะสามารถติดตั้งได้เฉพาะบนเครื่องที่ CPU สามารถรันคำสั่งแบบ 64 บิตเท่านั้น
3. สามารถติดตั้งได้ 3 วิธีคือ
  • ติดตั้งด้วยการบูตคอมพิวเตอร์ด้วยแผ่น SUT-MOTS
  • ติดตั้งด้วยการบูตคอมพิวเตอร์ด้วย USB flash drive ที่บรรจุ SUT-MOTS
  • ติดตั้งผ่านทางเว็บ ด้วยการบูตคอมพิวเตอร์ด้วยแผ่น SUT-MOTS หรือ USB flash drive ที่บรรจุ SUT-MOTS เป็นการเริ่มต้น
4. เมื่อโปรแกรมติดตั้งทำงาน ผู้ใช้จะสามารถเลือกได้สองภาษาคืดไทยและอังกฤษ และสามารถเลือกการติดตั้งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งคือ
   -การติดตั้งแบบไดเร็กทอรี่ เป็นการติดตั้งสำหรับออกข้อสอบและประเมินผลและยังเหมาะต่อการฝึกอบรมและทดลองใช้งาน
       การติดตั้งแบบนี้ ผู้ใช้ไม่จำเป็น ต้องเตรียมฮาร์ดดิสก์เป็นพิเศษ เพียงจัดให้มีไดรว์หนึ่งที่เป็น NTFS ที่มีเนื้อที่ว่าง 10 GB ขึ้นไป
       เมื่อเลือกการติดตั้งแบบนี้ จะมีการสร้างไดเร็กทอรี่ dsutubtx ในไดรว์ปลายทางที่ถูกเลือก แล้วนำระบบบรรจุไว้ในนั้น
       ไดรว์ปลายทางอาจเป็น ntfs, ext3 หรือ ext4
       การติดตั้งแบบนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในไดรว์นั้น
   -การติดตั้งแบบเต็มไดรว์ เหมาะต่อการการติดตั้งสำหรับใช้ในการสอบจริง หรือเมื่อต้องการความเร็วสูงสุด
       การติดตั้งแบบนี้ ผู้ใช้จำเป็น ต้องเตรียมฮาร์ดดิสก์เป็นพิเศษ โดยจัดเตรียมทำให้มีไดรว์หนึ่งที่มีเนื้อที่ว่าง 10-15 GB
       (ถ้าโตกว่านี้จะใช้เวลาในการติดตั้งนานขึ้น) และให้ format เป็นแบบ ntfs ไว้
       เมื่อเลือกการติดตั้งแบบนี้ ไดรว์ปลายทางที่เตรียมไว้ จะถูกฟอร์แมตเป็น ext4 ข้อมูลเดิมจะหายไปหมด
       แล้วระบบจะถูกนำไปบรรจุไว้ในนั้น


1. การติดตั้ง
  - ใส่แผ่นดีวีดีหรือ USB ไดรว์ที่บรรจุระบบ ในคอมพิวเตอร์แล้วบูตคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์นั้น ซึ่งบางครั้งอาจต้องไปกำหนดที่ BIOS จากนั้นจะเข้าสู่โปรแกรมคล้ายดังภาพ

begin_files/ins1.png


สำหรับผู้ที่ใช้เครื่องโน็ตบุค ถ้าพบว่าการติดตั้งระบบไม่สำเร็จ มีการไปค้างอยู่บางที่ ก็ให้รีเซ็ตเครื่องใหม่แล้ว เมื่อถึงหน้าต่างแรก ดังรูปข้างบน ให้รีบพิมพ์คำว่า puppy acpi=off noapic nolapic ต่อจาก boot: แล้วกด Enter ดังรูป


begin_files/i2.png



เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย จะเข้าสู่โปรแกรมติดตั้ง ดังรูป ในขั้นตอนที่จะเข้าสู่โปรแกรมหลักที่อยู่ในโหมดกราฟิก จะมีการตรวจอุปกรณ์กราฟิกการ์ดและจอมอนิเตอร์ ซึ่งบางครั้งใช้เวลานาน 2-3 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตรวจหาชื่ออุปกรณ์และไดรเวอร์สำหรับจอ

ถ้าเข้าโปรแกรมหลักที่อยู่ในโหมดกราฟิกได้ แต่ปรากฏว่า จอไม่สว่างหรือจอมืด ให้ทำการบูตระบบอีกครั้งแล้ว ให้เพิ่ม ส่วนของคำสั่งในบรรทัด  Boot: ดังนี้
puppy acpi_backlight=vendor
โดยไม่ต้องใส่คำว่า puppy ถ้าต้องใส่อยู่แล้ว


- จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอโปรแกรมการติดตั้ง ดังรูป และถ้าเป็นการติดตั้งด้วยแผ่นดีวีดี แผ่นจะถูกเด้งออกมา ให้ปล่อยไว้

begin_files/i3.png

ก่อนการติดตั้งทุกครั้ง สิ่งแรกที่ควรทำคือการตรวจสอบข้อมูลที่อยู่บนอุปกรณ์ติดตั้งก่อนว่าข้อมูลทุกอย่างยังถูกต้องอยู่หรือไม่ หรืออุปกรณ์ที่บรรจุข้อมูลกับอุปกรณ์อ่านข้อมูลเข้ากันได้ดีหรือไม่ ด้วยการเลือกเมนู ตรวจสอบแผ่น ก็จะเข้าสู่หน้าต่างดังรูป ถ้าเป็นเครื่องโน้ตบุ๊ก และติดตั้งโดยให้แผ่นดีวีดีให้ดันแผ่นเข้าไปด้านในก่อน จากนั้นให้เลือกคลิกที่ปุ่มที่เหมาะสม โดยทั่วไปจะเป็นปุ่มแรก ที่หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้บูตระบบในครั้งนี้นั่นเอง

begin_files/i4.png

 - จากนั้นโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลแต่ละไฟล์บนอุปกรณ์ที่เลือก ว่าข้อมูลยังเหมือนเดิมอยู่หรือไม่ ถ้าข้อมูลเหมือนเดิมจะแสดงด้วยสีเขียว ไฟล์ที่มีข้อมูลผิดพลาดจะแสดงด้วยสีแดง ถ้าพบว่าข้อมูลบางไฟล์ผิดพลาด ไม่ควรใช้แผ่นนั้นต่อไป แต่ทั้งนี้ต้องระวังด้วยว่า ไฟล์ที่อยู่บนแผ่นอาจจะดีก็ได้แต่อุปกรณ์ดีวีดีไดรว์หรือช่องเสียบ USB อาจเสียก็ได้ หลังจากตรวจสอบเสร็จ ถ้าเป็นแผ่นดีวีดี จะถูกเด้งออกมา ก็ให้ปล่อยไว้

begin_files/i5.png


-เมื่อการตรวจสอบข้อมูลผ่านไปด้วยดี ลำดับต่อไป ให้คลิกเมนู ติดตั้ง ก็จะเข้าสู่หน้าต่างดังรูป

begin_files/i6.png

ซึ่งจะเห็นว่าโปรแกรมทำการตรวจสอบพบว่า CPU ของคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ สามารถรันคำสั่ง 64 บิตได้ จากนั้นที่ด้านล่าง มีปุ่มให้เลือกว่าจะติดตั้งด้วยข้อมูลที่อยู่บนอุปกรณ์ที่ใช้บูตระบบ(ซึ่งเป็นสองปุ่มแรก) หรือจะติดตั้งด้วยข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ที่เราได้เตรียมไว้  (ขอให้ศึกษาคู่มือการติดตั้งระบบผ่านทางเว็บ) จากนั้นถ้าเป็นเครื่องโน้ตบุ๊กและติดตั้งโดยให้แผ่นดีวีดี ให้ดันแผ่นเข้าไปด้านในก่อน สำหรับการติดตั้งครั้งนี้ ให้คลิกที่ปุ่มแรกด้านบน ซึ่งเลือก swap ขนาด 2GB (Swap คือส่วนที่ระบบใช้ในการทำ Virtual Memory)

-จะเข้าสู่หน้าต่างต่อไป ดังรูปด้านล่าง ซึ่งจะทำการตรวจสอบข้อมูลบนอุปกรณ์ติดตั้ง ว่าเป็นเวอร์ชั่นใด จะใช้เนื้อที่เท่าใด สำหรับ SUT-MOTS รุ่นก่อน 5502 ด้านล่างจะมีปุ่มให้เลือกว่าจะติดตั้งรุ่นที่เป็น 32 หรือ 64 บิต แต่สำหรับรุ่นหลังจากนั้น จะมีเพียงปุ่มเดียวให้เลือก ถ้าไม่มีปุ่มปรากฏให้เลือก แสดงว่า CPU ของเครื่องนี้ไม่รองรับคำสั่ง 64 บิต ซึ่งไม่สามารถติดตั้งได้ ให้คลิกที่ปุ่ม ดำเนินการติดตั้ง

begin_files/i7.png

- จากนั้นโปรแกรมจะทำการตรวจสอบหาเนื้อที่ว่าง เพื่อจะให้เลือกการติดตั้ง โดยจะแสดงให้เลือกดังรูป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อที่ที่เหลือของแต่ละไดรว์ บางไดรว์จะมีปุ่มให้เลือกติดตั้งแบบเต็มไดรว์อย่างเดียว ทั้งนี้เพราะมีเนื้อที่ว่างไม่พอสำหรับการติดตั้งแบบไดเร็กทอรี่ลงไปอีก ส่วยการติดตั้งแบบไดเร็กทอรี่ ท่านจะต้องเลือกว่าจะติดตั้งขนาดเท่าใด อาจเป็น 8GB, 9GB หรือ 10GB แต่จากตัวอย่างด้านล่าง เราจะเลือกติดตั้งแบบเต็มไดรว์ลงบนที่ /media/sda7 ซึ่งจะเห็นว่า มี popup เตือนว่า ไดรว์นี้จะถูก format และข้อมูลถ้ามีอยู่จะหายไปหมด   

begin_files/i8.png

-หลังจากเลือกติดตั้งแบบเต็มไดรว์ลงใน /media/sda7 แล้ว จากนั้นจะเข้าสู่หน้าต่างดังรูป เพื่อถามว่าจะให้ติดตั้งบูตโหลดเดอร์ ซึ่งคือเมนูให้เลือกตอนคอมพิวเตอร์บูต ว่าจะเข้าวินโดวส์หรือจะเข้าลินุกซ์ ไว้ที่ใด โดยปกติให้เลือกเมนูแรก แต่บางครั้งถ้าเราติดตั้งบน USB ฮาร์ดดิสก์ ก็จะมีปุ่มให้เลือกเพิ่มขึ้นมาอีก

begin_files/i9.png

-จากนั้นการติดตั้งก็จะเริ่มขึ้น จนเสร็จ ดังรูป จนเมื่อการติดตั้งเสร็จสิ้น แผ่นดีวีดีจะถูกดันออกมาอัตโนมัติ ท้ายที่สุด ที่หน้าจอ จะแสดงค่าของเวลาที่ใช้ในการติดตั้งทั้งหมด

begin_files/i10.png


โปรแกรมติดตั้งนอกจะใช้สำหรับการตรวจสอบแผ่นแล้ว ยังใช้อีกหลายกรณีดังต่อไปนี้


begin_files/i11.png

ปุ่มถอนระบบ ใช้สำหรับลบระบบออกเมื่อไม่ต้องการใช้อีกต่อไป ซึ่งจะทำให้มีเนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้น

begin_files/i12.png

ปุ่มเคลียร์บูตโหลดเดอร์ จะให้เมื่อไม่ต้องการให้บูตโหลดเดอร์แสดงเมนูเลือกเข้าวินโดวส์หรือลินุกซ์ต่อไป ซึ่งจะทำให้เข้าสู่วินโดวส์ทันทีนั่นเอง


begin_files/i13.png

ปุ่มรีเซ็ตบูตโหลดเดอร์ จะให้เมื่อบูตโหลดเดอร์เสียหาย คือเมนูเลือกเข้าวินโดวส์หรือลินุกซ์เสียหาย มีแต่เท็กซ์ดหมดขึ้นที่จอ เข้าระบบไหนก็ไม่ได้ ให้ใช้ปุ่มนี้แก้ไข
 

begin_files/i14.png

ปุ่มทำลินุกซ์ซีดี SUTLinux ทุกเวอร์ชั่น รวมทั้ง SUT-MOTS ด้วยมีคุณสมบัติที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้โดยง่าย โดยเมื่อติดตั้งลงในเครื่องแล้ว สามารถทำการปรับแต่งปรับปรุง จนพอใจ จากนั้นให้ใช้ปุ่ม ทำลินุกซ์ซีดี เพื่อทำสิ่งที่แก้ไขไว้ให้เป็น ดิสทริบิวชันใหม่ เป็นของผู้ใช้เอง



เมื่อการติดตั้งเสร็จแล้ว ให้ทำการ รีบูตคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าสู่ระบบต่อไป
เมื่อเครื่องบูตใหม่ ถ้าในเครื่องนี้มีวินโดวส์ลงอยู่ ค่าปริยายสำหรับเมนูเข้าระบบอัตโนมัติ จะตั้งไว้ที่ วินโดวส์ ถ้าต้องการเข้าระบบสอบออนไลน์ให้เลือกเมนูที่ 2 สำหรับการเข้าแบบกราฟิก และเลือกเมนูที่ 3 สำหรับการเข้าแบบเท็กซ์โหมด ดังรูป และถ้าต้องการเปลี่ยนค่าบูตเข้าระบบแบบปริยายนี้ ให้เข้าไปแก้ไขข้อมูลในไฟล์ /boot/grub/grub.cfg ในลินุกซ์
ที่หน้าต่างตัวบูตระบบด้านล่างนี้ เมนูจะรอท่านประมาณ 10 วินาที ถ้าท่านไม่เปลี่ยนการเลือกเมนู จะเข้าวินโดวส์อัตโนมัติ

begin_files/i15.png


หลังจากทีเลือกบูตเข้า SUT-MOTS ด้วยเมนูที่สองแล้ว รอสักพัก (ถ้าเป็นครั้งแรกจะใช้เวลามากกว่าครั้งต่อๆไปสักเล็กน้อยทั้งนี้สำหรับการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่างๆ) จากนั้นจะเข้าสู่หน้าต่าง Desktop ดังรูปด้านล่าง
เมื่อใด ที่ท่านไม่ใช้คอมพิวเตอร์ระยยะหนึ่ง เมื่อจะใช้งานจะมีการให้ป้อนรหัสล็อกอิน ให้ท่านรหัสผ่าน a แล้วเมื่ออยู่ในระบบ ถ้าต้องการเปลี่ยนคีย์บอร์ดจากอังกฤษเป็นไทยหรือจากไทยเป็นอังกฤษ ให้กด Shift+Alt

begin_files/i16.png