การติดตั้ง SUTinsLinux ทาง USB Flash-drive
โดยใช้โปรแกรม UNetbootin บนลินุกซ์


USB Flash-drive ต้องมีขนาดพอที่จะบรรจุโปรแกรม
ในรุ่นปัจจุบัน ตั้งแต่ 4GB ขึ้นไป และต้องเสียบเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
ก่อนเปิดโปรแกรม UNetbootin


  1. ให้ format usb flash drive นั้นก่อน หรือจะใช้วิธีลบข้อมูลทั้งหมดทิ้งไปก่อนก็ได้ 
  2. ดาวน์โหลดไฟล์ ISO ที่จะใช้ติดตั้ง สมมุติคือไฟล์ SUTinsServer5201_64bit-DVD-09Jan2009.iso
  3. ให้รันโปรแกรม UNetbootin ขึ้นมา ซึ่งวิธีที่ง่ายคือ รันเทอร์มินัล จากนั้นใช้คำสั่ง unetbootin ดังรูปที่ 1 จากนั้นอาจปรากฏหน้าขึ้นมาถามหารหัสผ่าน ก็ให้ป้อน a


    รูปที่ 1

    รูปที่ 1
     


  4. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างดังรูปที่ 2 ขึ้นมา ให้เลือกที่ Diskimage [ISO] และกดที่ปุ่ม ... เพื่อเลือกไฟล์ SUTinsServer5201_64bit-DVD-09Jan2009.iso ดังรูปที่ 3


    usb_ins2.png
    รูปที่ 2

    usb_ins3.png

    รูปที่ 3


  5. ตรวจสอบ drive ของ usb flash-drive ว่าตรงกับที่ปรากฎในโปรแกรมหรือไม่ ดังรูปที่ 4 เขียนว่า /dev/sdb1
    ท่านต้องระวังและตรวจสอบให้แน่ใจ มิฉะนั้นอาจทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ที่ปลายทางเสียหายได้
    เมื่อแน่ใจแล้วให้กดปุ่ม OK โปรแกรมจะทำการติดตั้งระบบลงใน flash-drive ที่เลือกไว้ ดังรูปที่ 4 และ 5



    usb_ins4.png

    รูปที่ 4

    usb_ins5.png

    รูปที่ 5


  6. เมื่อกระบวนการติดตั้งสำเร็จแล้ว จะปรากฎหน้าต่างให้ reboot ระบบใหม่ ดังรูปที่ 6
     ให้กด Exit เพื่อ reboot ระบบใหม่ภายหลัง


    usb_ins6.png

    รูปที่ 6

  7. จากนี้ ให้เข้าไปแก้ไขไฟล์

    syslinux.cfg

    ที่อยู่ใน usb flash-drive นั้น ให้แก้ไข

    จากเดิม
    default vesamenu.c32
    prompt 0
    menu title UNetbootin
    timeout 100

    label unetbootindefault
    menu label Default
    kernel /ubnkern
    append initrd=/ubninit root=/dev/ram0 loglevel=3 PMEDIA=idecd pfix=ram

    label ubnentry0
    menu label puppy
    kernel /vmlinuz
    append initrd=/initrd.gz root=/dev/ram0 loglevel=3 PMEDIA=idecd pfix=ram

    ให้เป็น

    default vesamenu.c32
    prompt 0
    menu title UNetbootin
    timeout 1

    label ubnentry0
    menu label puppy
    kernel /vmlinuz
    append initrd=/initrd.gz root=/dev/ram0  loglevel=3 PMEDIA=usbflash pfix=ram

  8. ถ้าหลังการเขียนข้อมูลเข้าไปแล้ว ปรากฏว่ายังมีนื้อที่ว่าง ถ้าท่านต้องการเก็บข้อมูล ในนั้น ให้สร้างไดเร็กทอรี่ data แล้วนำข้อมูลไปเก็บไว้ในนั้น
  9. เมื่อต้องการติดตั้ง ให้นำ USB flash drive เสียบเข้าที่ช่อง USB แล้วบูตคอมพิวเตอร์ใหม่ และกำหนดให้คอมพิวเตอร์บูตระบบผ่านทาง USB drive นั้น
    ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องเข้าไปตั้งค่าที่ BIOS