1. การกำหนดให้รับไอพีอัตโนมัติด้วยคอมมานด์ไลน์
ท่านสามารถกำหนดให้เครื่องนี้รับไอพีอัตโนมัติ
ด้วยการใช้คำสั่งในเทอร์มินัล sudo dhclient eth0 เมื่อ eth0 คือ
เน็ตเวิร์กการ์ดตัวแรก
2. ตรวจดูไอพีด้วยคอมมานด์ไลน์
จากนั้นสามารถตรวจสอบการได้ไอพีด้วยคำสั่ง ifconfig จากรูป
หมายเลขไอพีที่ได้รับมาคือ 192.168.1.100
3. แสดงไอพีทางหน้าเว็บ
เมื่อเรียกผ่าน firefox เมนูแรกถายใต้ ส่วน Utilities คือ Show My IP
ซึ่งเมื่อคลิกแล้วจะแสดงหมายเลขไอพีของเครื่องเซิร์ฟเวอร์นี้ดังรูปต่อไป
4. กำหนดไอพีของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางหน้าเว็บ
เมนู Show and Setup IP จะใช้แสดงหมายเลขไอพีของเครื่องนี้
พร้อมทั้งสามารถใช้กำหนดไอพี ให้เครื่องนี้ทั้งแบบรับไอพี อัตโนมัติ
และแบบกำหนดหมายเลขเอง ซึ่งเมื่อคลิกเมนูนี้แล้วจะได้หน้าต่างดังรูปต่อไป
5. กำหนดเพิ่มรายวิชาที่จะสอบพร้อมกัน
เมนู Manage Online Test Web
จะใช้สำหรับการกำหนดเว็บสำหรับการสอบออนไลน์เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการสอบหลายวิชาพร้อมกัน
ตามค่าปริยาย เว็บการสอบออนไลน์จะอยู่ที่ /var/www/html/sutmots
แต่ในกรณีที่เราต้องการสอบหลายวิชา พร้อมๆ กัน หรือต้องการใช้สอบหลายวิชา
ซึ่งอาจจะไม่สอบพร้อมกัน แต่ต้องการให้มีเว็บการสอบแยกออกจากกัน
ต้องใช้เมนูนี้กำหนดเว็บสำหรับการสอบแต่ละรายวิชา
โดยเว็ยที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่จะอยู่ที่ /home/subject_name/web
นอกจากนี้ ยังใช้เมนูนี้ในการกำหนดให้การจัดการการสอบทำจากระไกลได้
เมื่อคลิกเมนูนี้จะเข้าสู่หน้าต่างดังรูปถัดไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
6. กำหนดให้ส่งโปรแกรมสำหรับผู้สอบไปรันที่เครื่องไคลเอ็นท์
เมนู Setup LAN Boot for SUT-MOTS testing Client
จะใช้สำหรับการสอบที่ต้องการความปลอดภัยสูงสุด
นั่นคือเครื่องเซินร์ฟเวอร์นี้สามารถส่งระบบปฏิบัติการเล็กๆ
ที่มีเว็บเบร้าว์เซอร์ไปรันที่เครื่องไคลเอ็นท์ในห้องสอบเมื่อเครื่องไคลเอ็นท์ถูกกำหนดให้บูตผ่านแลน
หน้าต่างเบร้าว์เซอร์สำหรับการสอบแบบนี้
จะไม่สามารถเก็บหน้าจอหรือใช้ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตหรือเครื่องอื่นๆ
ได้เลย และไม่ต้องกังวลเรื่องไวรัสที่จะมารบกวนการสอบอีกด้วย
ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ ถ้าในห้องสอบใช้ gigabit switch
จะทำให้การบูตระบบของเครื่องไคลเอ็นท์ทั้งห้องเร็วขึ้น
และก็จะสามารถตอบสนองต่อการต้องส่งระบบปฏิบัติการไปยังเครื่องที่มีปัญหาและจำเป็นต้องทำการบูตเครื่องใหม่
ในขณะที่เครื่องอื่นๆ กำลังทำการสอบอยู่ได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อคลิกที่เมนูนี้แล้วจะเข้าสู่หน้าต่าง ถัดไป
ซึ่งเมื่อ enable แล้วก็ให้ทำการเปิดเครื่องไคลเอ็นท์และกำหนดให้บูตผ่านแลน
การทำงานโหมดนี้ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ต้องมีไอพี 172.16.0.1
เพราะจะสัมพันธ์กับการส่งข้อมูลของ tftp server และ dhcp server.
7. กำหนดให้ส่งระบบปฏิบัติการเล็กๆ ไปรันในหน่วยความจำที่เครื่องไคลเอ็นท์
นอกจากจะสามารถส่งหน้าจอการสอบไปรันที่เครื่องไคลเอ็นท์แล้ว
ถ้าใช้เมนูต่อไป คือ Setup LAN Boot for SUTinRAM Basic Client
จะทำการส่งระบบปฏิบัติการเล็กๆ ไปรันในหน่วยความจำของเครื่องไคลเอ็นท์
เมื่อเครื่องไคลเอ็นท์บูตผ่านแลน ซึ่งจะสามารถใช้ดูหนังฟังเพลง
และถ้าต้องการเล่นอินเตอร์เน็ตอาจจะต้องไปปรับในส่วนของการส่งไอพีไปให้ด้วย
dhcp server ต้องดูที่การเว็ตอัพ dhcp server เพิ่มเติม เมื่อคลิกเมนูนี้
จะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
8. กำหนดให้ส่งระบบปฏิบัติการเล็กๆ ที่มี Gimp และ OpenOffice
ไปรันในหน่วยความจำที่เครื่องไคลเอ็นท์
การทำงานของเมนูนี้คล้ายการทำงานของเมนูที่แล้ว แต่ตัวระบบ SUTinRAM
ที่ส่งไปรันที่เครื่องไคลเอ็นท์คราวนี้ จะมีโปรแกรม Gimp ซึ่งคล้ายโปรแกรม
Photoshop และโปรแกรมชุด OpenOffice ซึ่งคล้าย Ms Office ติดไปด้วย
ซึ่งจะเป็นผลให้การบูตระบบช้าลงเท่าตัวเพราะขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อคลิกที่เมนูนี้จะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
9. กำหนดรายละเอียดการติดตั้งเครื่องไคลเอ็นท์อัตโนมัติ
เมนู Auto Install Configuration มักจะใช้ร่วมกับเมนูต่อไปคืดเมนู Setup
LAN Boot for Installation เพื่อทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ SUTinsLinux
เวอร์ชั่น 5306 ขึ้นไป ไปยังเครื่องไคลเอ็นท์ทั้งห้องอัตโนมัติ
เมื่อกำหนดให้เครื่องไคลเอ็นท์บูตผ่านแลน
เมื่อคลิกที่เมนู Auto Install Configuration จะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
ในหน้าต่างนี้เมื่อทำการ enable the setup
จะเข้าสู่หน้าต่างทำการกำหนดรายละเอียดการติดตั้ง
เช่นต้องการฟอร์แมตเครื่องไคเอ็นท์หรือไม่
อย่างไร(แบ่งออกเป็นกี่พาร์ทิชั่น) และต้องการติดตั้ง SUTinsLinux
ที่เตรียมไว้ด้วย อิมเมจแบบ 32 หรือ 64 บิต
ติดตั้งแบบไดเร้กทอรี่หรือแบบเต็มไดรว์ ไว้ในพาร์ทิชั่นใด เป็นต้น
เมื่อทำเสร็จจะได้ไฟล์ /var/www/utils/auto_install_var.txt
ซึ่งจะถูกส่งไปยังเครื่องไคลเอ็นท์และปฏิบัติตาม
10. กำหนดการติดตั้งเครื่องไคลเอ็นท์อัตโนมัติ
เราจะใช้เมนู Setup LAN Boot for Installation
ต่อจากการกำหนดรายละเอียดการติดตั้งด้วยเมนูที่แล้ว
เมื่อคลิกเมนูนี้จะเข้าสู่หน้าต่อไป
ซึ่งหลังจากการ Enable the setup แล้ว
ก็ให้ทำการบูตเครื่องไคลเอ็นท์ผ่านแลน ขอเน้นอีกครั้งว่า
เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะต้องมีไอพีเป็น 172.16.0.1
เมื่อเครื่องไคลเอ็นท์บูตผ่านแลน
จะมีการมาดึงเอาตัวติดตั้งจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ไปรันที่นั่น
และทำการติดตั้งตามค่าที่กำหนดไว้จนเสร็จสิ้น
ซึ่งความเร็วจะขึ้นอยู่กับความเร็วของอุปกรณ์ switch ที่ใช้
ความเร็วของเน็ตเวิร์กการ์ก และจำนวนเครื่องไคลเอ็นท์
เมื่อเครื่องใดทำการติดตั้งเสร็จ จะปิดเครื่องตัวเองอัตโนมัติ
เมื่อทุกเครื่องในห้องนั้นติดตั้งเสร็จหมด ท่านต้องใช้เมนูนี้ทำการ
disable the setup ก่อน จึงทำการบูตเครื่องไคลเอ็นท์ต่อไป
11.
กำหนดการส่งหน้าจอเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปแสดงที่เครื่องไคลเอ็นท์อัตโนมัติ
ความสามารถของเมนู Setup LAN Boot for Server to send screen to
client
เป็นสิ่งที่ทางทีมงานภูมิใจมาก และกว่าจะได้ความสามารถเช่นนี้มา
พวกเราทำงานหนักทั้งเรื่องการค้นคว้าและการทดลองและการออกแบบระบบ
พวกเราไปทดสอบความสามารถของความสามารถนี้แล้ว
พบว่ามีการส่งหน้าจอไปยังเครื่องไคลเอ็นท์ได้เร็วกว่าและตอบสนองต่อการแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ดีกว่าโปรแกรมที่ใช้ส่งหน้าจอที่ต้องเสียเงินราคาแพง
ท่านเท่านั้นจะเป็นผู้ช่วยพิสูจน์ความคิดนี้
โหมดนี้คือการส่งหน้าจอของเครื่องผู้สอนไปแสดงที่เครื่องอื่นๆ ในห้อง
โดยเครื่องอื่นๆ ในห้อง(เครื่องไคลเอ็นท์) เพียงกำหนดให้บูตผ่านแลน
จากนั้น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งระบบปฏิบัติการเล็กๆ
ไปรันในหน่วยความจำที่นั่น
และก็จะต่อเข้ามาดึงหน้าจอของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปแสดงที่นั่นด้วย
จนกว่าจะปิดการทำงานนี้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเมื่อคลิกที่เมนูนี้
จะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
ข้อที่ควรทราบสำหรับการทำงานสำหรับโหมดนี้คือ network switch
และเน็ตเวิร์กการ์ดของทุกเครื่องควรเป็น gigabit คือควรใช้ Gigabit LAN
นั่นเอง ตัว network switch ถ้าเลือกใช้แบบ unmanaged ราคาจะไม่แพงมาก
เช่น 24 ports สามารถหาซื้อได้ในราคาประมาณ 6 พันบาท
12. การตรวจสอบความคงเดิมของข้อมูลบนแผ่น SUTinsLinux
เมนู Check Disk Integrity ใช้สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของแผ่น
SUTinsLinux ว่าทุกไฟล์ที่อยู่ในอุปกรณ์(แผ่น DVD หรือ USB ไดรว์)
ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่ ก่อนการติดตั้งใช้งาน
หรือการแจกจ่ายเพื่อให้ผุ้อื่นนำไปใช้งาน
ทางทีมงานใช้ความสามารถนี้ในการตรวจสอบแผ่น
ก่อนที่จะนำผลงานของเราไปให้ผู้อื่นใช้
เมื่อคลกจะเข้าสู่หน้าต่างดังรูปถัดไป
โดยต้องทำการ browse ไปหาไฟล์ MD5.txt ก่อน จากนั้นต้อง
สำเนาข้อมูลในส่วนนี้ไปไว้ในช่อง ด้านล่างกว่า แล้วสั่งดำเนินการ
13. โปรแกรมช่วยแปลงคำสั่ง html เป็นคำสั่งภาษา php
เมนู Change html code to php code
เป็นเมนูที่เราใช้เปลี่ยนคำสั่งที่เป็นภาษา html ให้เป็นคำสั่งสำหรับภาษา
php ซึ่งจะสะดวกต่อการเขียนโปรแกรม
ซึ่งเมื่อคลิกแล้วจะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
ผ่าน
14. การกำหนดเปลี่ยนเครื่องเซิร์ฟเวอร์นี้ให้เป็นเพียงเครื่องไคลเอ็นท์
เมนู Setup Online test client เมื่อคลิกแล้วจะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
ในหน้าต่างนี้ เราสามารถใช้เพื่อทำการเว็ตอัพให้เครื่องนี้
กลายเป็นเพียงเครื่องไคลเอ็นท์ ตัดความสามารถทางด้านเซิร์ฟเวอร์ออก
และเมื่อบูตทุกครั้งจะมีการเรียกข้อมูลเดิมของผู้ใช้ sut กลับมาทุกครั้ง
นั่นหมายถึงว่า
ท่านอาจใช้เมนูนี้ทำการติดตั้งเครื่องนี้สำหรับเป้นเครื่องไคลเอ็นท์ทั่วๆ
ไป หรือเป็นเครื่องไคลเอ็นทืสำหรับการสอบ
15. การเรียกใช้โปรแกรม phpMyadmin เพื่อจัดการฐานข้อมูลของ MySQL
เมนู phpMyadmin ใช้สำหรับเรียกใช้โปรแกรม phpmyadmin
วึ่งเป็นโปรแกรมใช้บริหารจัดการดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ mysql
เมื่อคลิกจะเข้าสู่โปรแกรมดังรูปถัดไป
ตามค่าที่กำหนดไว้โดยปริยาย ท่านจะสามารถใช้โปรแกรมนี้ จากเครื่อง
localhost คือเครื่องนี้เท่านั้น โดยทำการกำหนดในไฟล์
/etc/phpmyadmin/apache.conf
และผู้ใช้คือ root รหัสผ่านคือ meroot
16. อ่านคู่มือสำหรับการสั่งงานโปรแกรมด้วยภาษา Php
เมนูภายใต้ ไดเร็กทอรี่ Manual จะมีเมนู PHP Manual
ซึ่งเมื่อคลิกจะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
ในหน้าต่างนี้ จะแสดงคู่มือการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP
ซึ่งเป้นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมระบบสอบออนไลน์
17. คู่มือการใช้งานฐานข้อมูล MySQL
นอกจากนี้ยังมีเมนู MySQL 5.1 Reference Manual
ซึ่งเมื่อคลิกจะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
ในหน้าต่างนี้ จะแสดงคู่มือการสั่งงาน MySQL วึ่งเป็นฐานข้อมูลที่
ระบบสอบออนไลน์ เรียกใช้
18. รายละเอียดเกี่ยวกับ SUT-MOTS 5306
เมนู SUT-MOTS 5306 เมื่อคลิก จะเข้าสู่หน้าต่างถัดไป
ในหน้าต่างนี้ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดต่างๆ รวมไปถึงคู่มือการใช้งานต่าง
ๆ
19. การเข้าสู่โปรแกรมการสอบออนไลน์
ท้ายสุด shortcut SUT-MOTS
ใช้สำหรับเข้าสู่โปรแกรมระบบสอบออนไลน์ที่เป็นค่าปริยาย
โดยเริ่มแรกจะมีการให้ ให้สร้างฐานข้อมูลสำหรับการสอบก่อน
ส่วนคู่มือการใช้งานฉลับเต็มซึ่งมีทั้งในรูปแบบหน้าเว็บและในรูปแบบของไฟล์มัลติมีเดีย
สามารถเข้าถึงได้จากหน้าหลักของเว็บ หรือจากเมนูก่อนหน้านี้