Welcome to SUTinsServer 5312
(ลินุกซ์เซิร์ฟเวอร์พร้อมใช้สำหรับนักพัฒนาที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจาก Ubuntu 10.10 Server)
ทรงพระเจริญ
5 December 2010
See all manuals
คู่มือการใช้งานทั้งหมด

Should know before using this system
ข้อควรทราบสำหรับการใช้งาน

1. To install it, the computer must have RAM at least 512 MB.
2. Installation need harddisk space about 10GB. User may choose to install either one of the two modes:
  -Directory mode is for testing, training, and practicing.
      User boot the system with SUTinsServer DVD or USB and choose this mode of installation.
      A directory contains SUTinsServer system will be created on the chosen drive which may be ntfs, fat32 or ext3.
  -Full drive mode is for setting up and use it as a real server.  User must create a drive(partition) with size about 10 GB.
      Then boot the system with SUTinsServer DVD or USB and choose this mode of installation.
      The chosen drive will be formatted to ext4 and install the system on it.

1. เครื่องที่จะติดตั้งระบบต้องมี RAM ไม่น้อยกว่า 512 MB.
2. การติดตั้งต้องการเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ประมาณ 10GB และสามารถเลือกได้ 2 รูปแบบคือ
   -การติดตั้งแบบไดเร็กทอรี่ เป็นการติดตั้งสำหรับการทดสอบ ทดลอง รวมไปถึงการฝึกหัดใช้งานต่าง ๆ
       ให้บูตระบบด้วยแผ่น SUTinsServer หรือ USB thumb drive แล้วสามารถเลือกการติดตั้งแบบนี้ได้เลย การติดตั้งแบบนี้ ระบบจะถูกนำไปเก็บไว้ใน
       ไดรเร็กทอรี่ในไดรว์ที่ท่านเลือก ซึ่งไดรว์นั้นอาจเป็น ntfs, fat32, ext3 หรือ ext4
   -การติดตั้งแบบเต็มไดรว์ เป็นการติดตั้งสำหรับการใช้งานจริง การติดตั้งแบบนี้จะทำการฟอร์แมต ไดรว์ปลายทางให้เป็น ext4 แลัวจึงติดตั้ง
       ระบบเข้าไปในนั้น เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้จำเป็นต้องแบ่งพาร์ทิชั่นไว้ก่อน โดยอาจแบ่งเป็นไดรว์หนึ่งที่มีขนาดประมาณ 10  GB.
       จากนั้นให้บูตระบบด้วยแผ่นแล้วเลือกการติดตั้งแบบนี้


สิ่งที่ควรทราบสำหรับเวอร์ชั่น 5312
  1. ใช้ตัวติดตั้งโปรแกรมใหม่ เดิมใช้ Puppy Linux 4.31 ตัวใหม่จะเป็น Puppy Linux 5.11 ซึ่งจะทำให้เข้าหน้าจอกราฟิกเร็วขึ้น ไม่ต้องเลือกว่าจะใช้ไดรเวอร์ Xorg หรือ Xvesa และสามารถติดตั้งได้เร็วขึ้นเพราะได้เพิ่ม pigz สำหรับทำการแตกไฟล์ด้วยการกระจายงานไปยัง CPU core ต่างๆ
  2. ลินุกซ์ที่เป็นตัวเซิร์ฟเวอร์ใช้ Ubuntu server 10.10
  3. ได้ทำการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เพื่อรองรับการติดตั้ง Moodle 2.0 จึงทำให้ไม่ต้องต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติมอีก
  4. ค่าปริยายของ mysql, คือผู้ใช้ root และรหัสผ่านคือ meroot
  5. เพิ่ม script  sut-mk-mycd เพื่อการทำ distribution ใหม่, sut-writedvd เพื่อเขียนไฟล์ iso ของ SUTLinux ใส่แผ่นดวีดี, sut-testdvd เพื่อตรวจสอบความคงเดิมของข้อมูลไฟล์ต่างๆ ของแผ่นติดตั้ง SUTLinux, sut-iso2usb เพื่อเขียนไฟล์ iso ของ SUTLinux ใส่เข้าไปใน usb flash drive ทั้ง 4 โปรแกรมถูกเก็ยไว้ที่ /usr/local/sbin จึงทำให้สามารถเรียกใช้ได้ในเทอร์มินัลโดยตรง
  6. กำหนดให้ใช้โปรแกรม pigz แทน gzip และ gunzip เพื่อเพิ่มความเร็วในการบีบอัดไฟล์แบบ tar.gz (ดูการทำลิงก์ใน /bin)
  7. ทำการปรับแต่งโปรแกรม โปรแกรมเพิ่มเว็บ เวอร์ชั่น 5.0 ที่ http://localhost/addweb/ ซึ่งนอกจะทำการเพิ่มผู้ใช้ในระบบ ให้สามารถใช้เว็บเมล์ได้แล้ว ยังสามารถ ให้ผู้ใช้ที่เพิ่มสามารถมีเว็บเป็นของตนเอง โดยจะอยู่ที่ http://IP_of_server/abc เมื่อผู้ใช้ชื่อ abc ซึ่งจะมีการสร้างฐานข้อมูล abc ไว้ให้เรียกใช้ด้วย
  8. เว็บเมล์พร้อมใช้ทันทีหลังการติดตั้ง แต่ผู้ดูแลระบบควรกำหนดไอพีให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ก่อน ตามขั้นตอนในคู่มือการใช้งาน สำหรับผู้ใช้จะได้ติดต่อเข้ามาใช้งานได้ ผู้ใช้เว็บเมล์คือผู้ใช้ของระบบ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเพิ่มชื่อผู้ใช้ของระบบก่อนจึงใช้งานได้ สำหรับผู้ใช้ sut ใช้งานได้ทันที
  9. มี Foryou สำหรับการ upload/download และ share  ไฟล์ขนาดใหญ่ อยู่ที่ /var/www/html/foryou สำหรับเครื่องอื่นๆ ที่ต้องการติดต่อเข้ามา ต้องใช้ browser ต่อเข้ามาที่ http://IP_of_server/foryou/ ผู้ดูแลระบบควรเปลี่ยนระหัสผ่านสำหรับผู้ใช้ root ที่อยู่บนโปรแกรมนี้ใหม่ ก่อนเริ่มให้ผู้อื่นใช้งาน
  10. สามารถต่อเข้ามาใช้การ upload/download อย่างง่ายได้ทาง
    https://IP_of_server/download ซึ่งต้องไปแก้ไขส่วนหัวของไฟล์ /var/www/html/download/up1file.php เสียก่อน
  11. ได้ติดตั้งเพิ่มเติมโปรแกรม Munin ซึ่งสามารถใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทั้งการทำงานของ ฮาร์ดดิสก์ CPU เมล์ เว็บ และการใช้งานเน็กเวิร์ก สามารถเรียกโปรแกรมได้จากลิงก์ของ Firefox ที่ Utilities --> Munin :: Network and system monitoring แต่ก่อนการเรียกใช้ต้อง สั่งให้โปรแกรมรันก่อนด้วยคำสั่งในเทอร์มินัล sudo service munin-node start จากนั้นต้องรออย่างน้อย 5 นาทีจึงเรียกที่ลิงก์ของ Firefox ดังกล่าว
  12. ยังคงเป็นเหมือนเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ ที่ถ้าท่านต้องการ ให้เครื่องนี้เป็น DNS server ท่านต้องกำหนดให้เครื่องนี้มีไอพี 172.16.0.1 ดูการเซ็ตอัพ DNS ในส่วนของคู่มือประกอบ ทั้งนี้ได้เพิ่มโปรแกรมจัดการ DNS เซิร์ฟเวอร์ไว้ให้แล้วที่ shortcut ของ Firefox Utils-->Setup DNS Server
  13. สำหรับ DHCP เซิร์ฟเวอร์ จัดการที่ shortcut ของ Firefox Utils-->Setup DHCP Server ได้กำหนดค่าโดยปริยายสำหรับการแจกไอพี เมื่อท่านกำหนดให้เครื่องนี้เป็น DHCP server จะแจกไอพีจาก 172.16.0.50 to 172.16.3.253
    ไอพี 172.16.0.0 and 172.16.3.255 ใช้สำหรับ broadcast
    ไอพี 172.16.3.254 ใช้สำหรับเป็น gateway
    ดูค่ากำหนดการทำงานต่างๆ ในไฟล์ /etc/dhcp3/dhcpd.conf
    ถ้าจะให้เครื่องนี้แจกไอพี โปรดดูคูมือ การเซ็ตอัพ DHCP
  14. เวอร์ชั่นนี้มาพร้อมกับโปรแกรมเว็บเมล์ ซึ่งใช้โปรแกรม roundcube เป็นโปรแกรมรับส่งอีเมล์ภายใน โดยผู้ใช้ต่อเข้ามาที่
    https://IP_of_server/webmail ทั้งนี้ผู้ใช้จะต้องมีในระบบก่อนจึงใช้งานได้ การเพิ่มผู้ใช้ในระบบทำได้ 3 ทางคือ
    1. หนึ่งใช้โปรแกรม โปรแกรมเพิ่มเว็บ เวอร์ชั่น 5.0 ที่ http://localhost/addweb/
    2. ใช้โปรแกรมเพิ่มชื่อผู้ใช้ที่ shortcut ของ Firefox Utils-->Add system user
    3. ใช้โปรแกรมของลินุกซ์ เข้าไปที่ โปรแกรม --> System --> Administration--> Users and Groups
  15. Firewall is disabled at startup. 
        Firewall is no enabled by default. To enable it, in the terminal use command: sudo ufw enable
        To see present firewall rule, in the terminal use command: sudo ufw status  To add the rule read manual.
         Read manual for detail.

        ไฟล์วอลล์ไม่ทำงานเป็นค่าปริยาย
        ไฟล์วอลล์ยังไม่ได้ทำงานพร้อมระบบหลังการติดตั้งใหม่ ถ้าต้องการกำหนดให้ไฟล์วอลล์ทำงานให้ใช้คำสั่งในเทอร์มินัล: sudo ufw enable
        ถ้าต้องการดูกฏของไฟล์วอลล์ให้ใช้คำสั่งในเทอร์มินัล: sudo ufw status
        อ่านคู่มือเพิ่มเติม
  16. Adding more Thai fonts from SIPA.
       Adding more Thai fonts from SIPA in /usr/share/fonts/truetype/thai/
    TH Baijam Bold Italic.ttf  TH Baijam Bold.ttf  TH Baijam Italic.ttf  TH Baijam.ttf  TH Chakra Petch Bold Italic.ttf
    TH Chakra Petch Bold.ttf  TH Chakra Petch Italic.ttf  TH Chakra Petch.ttf  TH Charm of AU.ttf  TH Charmonman Bold.ttf  TH Charmonman.ttf  TH Fahkwang Bold Italic.ttf  TH Fahkwang Bold.ttf  TH Fahkwang Italic.ttf
    TH Fahkwang.ttf  TH K2D July8 Bold Italic.ttf  TH K2D July8 Bold.ttf  TH K2D July8 Italic.ttf  TH K2D July8.ttf
    TH Kodchasal Bold Italic.ttf  TH Kodchasal Bold.ttf  TH Kodchasal Italic.ttf  TH Kodchasal.ttf
    TH KoHo Bold Italic.ttf  TH KoHo Bold.ttf  TH KoHo Italic.ttf  TH KoHo.ttf  TH Krub Bold Italic.ttf
    TH Krub Bold.ttf  TH Krub Italic.ttf  TH Krub.ttf  TH Mali Grade6 Bold Italic.ttf  TH Mali Grade6 Bold.ttf
    TH Mali Grade6 Italic.ttf  TH Mali Grade6.ttf  TH Niramit AS Bold Italic.ttf  TH Niramit AS Bold.ttf
    TH Niramit AS Italic.ttf  TH Niramit AS.ttf  THSarabun BoldItalic.ttf  THSarabun Bold.ttf  THSarabun Italic.ttf
    THSarabun.ttf  TH Srisakdi Bold.ttf  TH Srisakdi.ttf


        เพิ่มไทยฟ้อนท์จากซิป้า
        ได้เพิ่มไทยฟ้อนท์ที่ได้จากซิป้าตามชื่อที่ปรากฏในตารางด้านบน ใน /usr/share/fonts/truetype/thai/
  17. Allow php script to upload bigger file. 
        Configure of php which is /etc/php5/apache2/php.ini has been changed some values to allow
        php script to upload bigger file size.  It is set at 256MB.  Take a look at these variables in the configure file.

    max_execution_time = 120     ; Maximum execution time of each script, in seconds
    max_input_time = 60 ; Maximum amount of time each script may spend parsing request data
    memory_limit = 256M      ; Maximum amount of memory a script may consume (256MB)
    post_max_size = 256M
    upload_max_filesize = 256M
    default_socket_timeout = 120


        กำหนดให้ php script อัพโหลดไฟล์ได้โตขึ้น
        ได้มีการกำหนดไฟล์คอนฟิกของ php ที่อยู่ที่ /etc/php5/apache2/php.ini เพื่อให้รองรับการอัพโหลดไฟล์ได้โตขึ้น ซึ่งได้กำหนดค่าไว้เป็น 256MB
        ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นค่าใหม่ ให้แก้ไขค่าของตัวแปร ตามตารางข้างบน
  18. Samba provides filesharing and printing services to Windows clients.
    =============================================================
    To prevent samba to run with system boot which is default.
    /etc/init/smbd.conf
    #start on local-filesystems
    #stop on runlevel [!2345]

    To start samba with system boot
    /etc/init/smbd.conf
    #start on local-filesystems
    #stop on runlevel [!2345]

    To start samba now, use command: sudo service smbd start
    To stop samba now, use command: sudo service smbd stop




Start using
การเริ่มต้นใช้งาน
  1. To install the system, about 10GB harddisk space is needed.
    การติดตั้ง ต้องการเนื้อที่ประมาณ 10 GB ทั้งนี้ขึ้นกับโหมดการติดตั้งและมี swap พาร์ทิชันแล้วหรือไม่
  2. Begin by booting computer with SUTinsServer DVD and will get to installer program.
    บูตเครื่องด้วย แผ่น SUTinsServer แล้วเข้าสู่โปรแกรมติดตั้ง
  3. Before doing anything else, Check disk integrity.
    ก่อนที่จะติดตั้งระบบ ควรใช้เมนู ตรวจสอบแผ่น ก่อน
  4. Then install the system.
    ใช้เมนู ติตตั้งระบบ
  5. Later, if you do not want to use it any more, you may delete it by using menu Delete SUTinsLinux.
    เมื่อต้องการเลิกใช้งาน สามารถใช้เมนู ถอนระบบ โดยการบูตแผ่นติดตั้งนี้ แล้วโปรแกรมจะทำการ format ไดรว์นั้นกลับคืน เพื่อให้สามารถใช้ในวินโดวส์ได้ต่อไป

Things you should know
สิ่งที่ควรทราบคือ
  1. Document for apache port 80 is at /var/www/html
    สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์ apache port 80 เนื้อหาของเว็บจะอยู่ที่ /var/www/html
  2. For expert, you may use sudo sysv-rc-conf on the terminal to start/stop service that run automatically with system boot.
    สำหรับผู้ชำนาญ การกำหนดให้ start/stop โปรแกรมที่รันอัตโนมัติพร้อมกับการบูตระบบ สามารถกำหนดโดยใช้คำสั่ง sudo sysv-rc-conf ในเทอร์มินัล
  3. To change accessing mode, you may use command: sudo chmod 777 -R dirname on the terminal.
    เมื่อต้องการเปลี่ยนสิทธิ์ให้โปรแกรมบนเว็บอ่านและเขียนไฟล์ได้ ให้ใช้คำสั่ง sudo chmod 777 -R dirname ในเทอร์มินัล 
  4. Configure files for apache are /etc/apache2/apahe2.conf and /etc/apache2/sites-enabled/000-defualt
    ไฟล์ config ของ apache คือ /etc/apache2/apahe2.conf และ /etc/apache2/sites-enabled/000-defualt
  5. Configure files for PHP is /etc/php5/apache2/php.ini
    ไฟล์ config ของ PHP คือ /etc/php5/apache2/php.ini
  6. To start/restart/stop any program use command: sudo service program_name start/stop/restart.
    เมื่อต้องการ start/stop/restart โปรแกรมในขณะนั้นๆ เช่นเมื่อต้องการ restart โปรแกรม apache ให้ใช้คำสั่ง sudo service apace2 restart เป็นต้น
  7. To start ftp server, run command: sudo service vsftpd start.
    ถ้าต้องการให้ ftp server ทำงานใช้คำสั่ง sudo service vsftpd start
  8. To see IP of this server, use command: ifconfig
    ถ้าต้องการดู IP ของเครื่องใช้คำสั่ง ifconfig
  9. login user: sut   password: a
  10. user: root  password: meroot
  11. To change defualt password for user sut, do these steps.
    -Open the terminal
    -Run command: sudo su -
    -Give passwaord for user sut
    -Run command: passwd sut
    -Give new password 2 times.

    ถ้าต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้ sut ให้ทำดังนี้
    - เปิดเทอร์มินัล
    - รันคำสั่ง sudo su -
    - ป้อนรหัสผ่านเดิมของผู้ใช้ sut
    - รันคำสั่ง passwd sut
    - ป้อนรหัสผ่านใหม่ของผู้ใช้ sut สองครั้ง
  12. To chnage language, use Alt+Shift
    การเปลี่ยนภาษาของคีย์บอร์ดใช้ Alt+Shift
  13. Use webalizer to generate web accessing statistic. On the terminal run command: sudo webalizer. To access it, use firefox browse to http://localhost/webalizer/
    Configure file for webalizer is /etc/webalizer/webalizer.conf

    /etc/apache2/conf.d/webalizer contains

    Alias /webalizer /var/www/webalizer
    <Directory /var/www/webalizer>
            Order allow,deny
            Allow from localhost 127.0.0.0/8 ::1
            Options None
    </Directory>

    To allow or disallow outside to accessing it, configure /etc/apache2/conf.d/webalizer

    ใช้ webalizer เพื่อดูสถิติการเข้าชมเว็บ โดยรันคำสั่ง sudo webalizer  ในเทอร์มินัล จากนั้น ใช้ Browser ต่อเข้ามาที่ http://localhost/webalizer/
    ไฟล์ config ของ webalizer คือ /etc/webalizer/webalizer.conf
    ถ้าต้องการเปลี่ยนการเข้าถึง ให้แก้ไขไฟล์ /etc/apache2/conf.d/webalizer

  14. For phpmyadmin, you may access it by use firefox browse to http://localhost/phpmyadmin/ or use menu Utilities --> phpMyAdmin - 3.1.2deb1
    To login use user: root, password: meroot

    สำหรับโปรแกรม phpmyadmin
    โปรแกรม PhpMyadmin อยู่ที่ /usr/share/phpmyadmin สามารถรันโดยใช้เมนูบน firefox ที่
    Utilities --> phpMyAdmin
    แล้วล็อกอินผู้ใช้ root รหัสผ่าน meroot

    เพื่อความปลอดภัย เมื่อต้องการกำหนดให้เรียกใช้โปรแกรมจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น คือที่ localhost หรือ 127.0.0.1 ให้เพิ่มคำสั่งต่อไปนี้เข้าไปในไฟล์ /etc/apache2/conf.d/phpmyadmin.conf ในส่วน <Directory .....

            Order deny,allow
            Deny from all
            Allow from localhost 127.0.0.0/255.0.0.0 ::1/128

    จากนั้นต้องรันโปรแกรมใหม่ด้วยคำสั่ง sudo service apache2 restart

    To re-setup phpmyadmin via web
    1. set password using command on the terminal
       htpasswd -c /etc/phpmyadmin/htpasswd.setup root
    2. set browser to localhost/scripts/setup.php
    3. When setup is finished, download config file to /etc/phpmyadmin/config.inc.php

For system security
สำหรับการรักษาความปลอดภัยของระบบ
  1. Looking data in /etc/sudoers, you will see that user sut is able to use command sudo where he could become user root. Therefore,  all program in /var/www/html via http://IP_of_this_server/ must be very carefull and should not allow untrusted code.

    เมื่อดูข้อมูลในไฟล์ /etc/sudoers จะพบว่า ผู้ใช้ sut มีสิทธิ์ใช้คำสั่ง sudo ซึ่งจะทำงานเป็นผู้ใช้ root ได้ ดังนั้นจึงต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับโปรแกรม ที่อยู่ ใน /var/www/html และรันผ่านทาง http://IP_of_this_server/ โดยควรเป็นโปรแกรมที่มั่นใจที่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายเท่านั้น

  2. By default, firewall will start with system boot and it will only allow connecting from outside to the webserver port 80. More setup, Read more on basic firewall setup.

    ตามค่าปริยายที่ตั้งไว้ ไฟล์วอลล์จะเริ่มทำงาน ทันที และเพียงอนุญาตให้ผู้ใช้จากเครื่องอื่นๆ ต่อเข้ามาทางเว็บเซิร์ฟเวอร์ port 80 อย่างเดียว สำหรับการเซ็ตอัพเพิ่มเติมอ่าน ติดตั้งไฟล์วอลล์เบื้องต้น 


License
ลิขสิทธิ์
It is open source with General Public License

เป็นโอเพนซอร์ส พัฒนาต่อยอดและใช้ได้ฟรี ด้วยลิขสิทธิ์ General Public License

More information
ข้อมูลเพิ่มเติม

Other works could be found at http://linux.sut.ac.th/.  Appreciated all users.
ติดตามผลงานใหม่ๆ ของเราได้ที่ http://linux.sut.ac.th/ ทางทีมงานขอขอบคุณทุกท่านที่ใช้งาน